Google Translate VS Baidu Translate เครื่องมือแปลภาษาไทย-จีนออนไลน์ค่ายไหนคุณภาพดีกว่ากัน

หมวดหมู่ข่าว: sclc-ชีพจรจีน

คอลัมน์ออนไลน์ "ชีพจรจีน" ประจำเดือนกุมภาพันธ์

Google Translate VS Baidu Translate เครื่องมือแปลภาษาไทย-จีนออนไลน์ค่ายไหนคุณภาพดีกว่ากัน

โดยอาจารย์ ดร.กัลยา ขาวบ้านแพ้ว

         ปัจจุบันผู้คนจำนวนมากนิยมใช้เครื่องมือแปลภาษาที่เปิดให้บริการฟรีออนไลน์ เพราะสะดวกรวดเร็วและประหยัด  จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนพบว่าการแปลของ Google Translate มีคุณภาพดีกว่า Baidu Translate โดยบทแปลที่ได้คุณภาพระดับดีมีลักษณะดังนี้ 

1) มีการเลือกใช้คำศัพท์ถูกต้องตรงตามบริบทของภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาต้นทาง

ต้นฉบับ – การได้นอนบ้านแบบเคบินท่ามกลางท้องทุ่งหญ้าเขียวสดช่างเป็นอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจ

ฉบับแปล  : :在绿草地上有一间小屋很

    B: 房子已经躺在田间小屋很惊人的青草。

    H: 夜晚住宿在绿色牧场里的小屋里,这里一定会给你最大的惊喜

 “ตื่นตาตื่นใจ” เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายแฝงอารมณ์ความรู้สึกในแง่บวก Google Translate เลือกใช้คำที่สื่อความหมายในแง่บวกสอดคล้องกับภาษาไทย  ในขณะที่ Baidu Translate เลือกใช้คำแปลคำว่า “惊人” ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่า “ตื่นตกใจ” ซึ่งเป็นความหมายแง่ลบ

2) คำยืมภาษาอังกฤษใช้วิธีการแปลทับศัพท์ด้วยอักษรจีน

ต้นฉบับ – อุณหภูมิของน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 40-50 องศาเซลเซียส

ฉบับแปล G: 平均水温是40-50摄氏度

   B: 水的温度在40-50,平均。

   H: 这里的瀑布流水温度始终保持在4050摄氏度

          คำว่า “องศาเซลเซียส”  Google Translate ใช้คำว่า摄氏度 ซึ่งเป็นการแปลโดยทับศัพท์ถอดเสียงภาษาอังกฤษด้วยอักษรจีน摄氏 ที่แปลมาจาก Celsius กับคำว่า(องศา) ในขณะที่ Baidu Translate แปลคำนี้โดยใช้ตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่นิยมใช้ในประโยคภาษาจีนมากนัก 

3) มีการใช้คำเชื่อมที่เหมาะสม ทำให้ประโยคมีตรรกะที่ชัดเจน

ต้นฉบับ – ผ่อนคลายสักนิด  แล้วไปสนามบินอู่ตะเภากัน

ฉบับแปล   G: 放松一下然后去了乌塔堡机场。

                   B: 放松一点,去机场。

                   H: 休息好以后,坐车到机场,开始您的下一段精彩的旅程。

ประโยคที่แปลด้วย Google Translate มีการใช้คำเชื่อม “然后” ซึ่งตรงกับคำว่า “แล้ว (หลังจากนั้น) ” ทำให้ผู้รับสารชาวจีนสามารถเข้าใจความเชื่อมโยงของกริยาในอนุประโยคหน้าและหลังในแง่ของเวลาที่เกิดขึ้นก่อนและหลังได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ประโยคที่แปลด้วย Baidu Translate ไม่ใช้คำเชื่อม

4) ประโยคแปลมุ่งเน้นความเข้าใจของผู้รับสารเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งรักษาโครงสร้างหรือรูปแบบของภาษาต้นทางอย่างเคร่งครัด  

แม้ว่ามีบางประโยค Google Translate แปลความหมายได้ไม่ตรงกับภาษาไทย และตกหล่น แต่ก็ยังเป็นโครงสร้างประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์จีน สื่อความหมายให้ผู้รับสารชาวจีนเข้าใจได้ดี 

ต้นฉบับ – ที่นี่ มีร้านค้าหลากหลายแบรนด์ให้เลือกสรร

ฉบับแปล  G: 有许多品牌可供选择。

    B:这里有各种商店品牌的选择。

                  H:这里汇集了许多世界名牌商品,让你一次买个够。

          ในบทแปลข้างต้น  กริยาหลักคือคำว่า “มี” และกรรมของประโยคคือคำว่า “ร้านค้า” Google Translate ไม่ได้แปลคำว่า “ร้านค้า” ออกมา ในประโยคแปลภาษาจีนจึงมีแต่คำว่า “แบรนด์” เป็นกรรมของประโยค แต่เมื่ออ่านโดยรวมทั้งประโยคแล้ว  สามารถเข้าใจความหมายได้ ส่วน Baidu Translate แปลผิด โดยไม่สามารถแยกแยะได้ว่า คำว่า “หลากหลาย” ทำหน้าที่ขยายคำว่า “แบรนด์” ไม่ใช่ขยาย “ร้านค้า”

5) ประโยคแปลสั้นกระชับ ไม่ใช้คำซ้ำซ้อน ฟุ่มเฟือย

ต้นฉบับ – ตอนเช้าหมอกจาง ๆ ลอยเอื่อยเต็มเมือง

ฉบับแปล  G: 晨雾漂浮的城市

                B: 在早晨雾漂浮的城市

                H: 清晨时分,城镇周围会飘起淡淡的晨雾

Google Translate ใช้คำว่า 晨雾 (หมอกยามเช้า) ซึ่งเป็นคำ 2 พยางค์ ตรงตามความนิยมของภาษาจีนที่ส่วนใหญ่มักใช้คำพยางค์คู่ และมีจำนวนพยางค์ในประโยคเป็นสองพยางค์คู่กัน ทำให้รูปประโยคสั้น กระชับ สละสลวยกว่า ในขณะที่ Baidu Translate เพิ่มคำว่า “在早” (ตอนเช้า) เข้าไปทำให้เป็นการใช้คำฟุ่มเฟือย

เมื่อเราได้ทราบถึงคุณภาพและปัญหาการแปลของเครื่องมือแปลออนไลน์แล้ว จะช่วยให้เราเลือกใช้เครื่องมือแปลได้อย่างเหมาะสม และระมัดระวังในการใช้เครื่องมือแปลเหล่านี้มากขึ้น

 

 

 |   |  737 ครั้ง