ปกิณกะการเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ

Categories: sclc-ชีพจรจีน

คอลัมน์ออนไลน์ "ชีพจรจีน" ประจำเดือน กันยายน
เรื่อง ปกิณกะการเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ
โดย อาจารย์ ดร.นิสรีน หวังตักวาดีน

 

         การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยมีประวัติความเป็นมาที่ค่อนข้างนาน มีร่องรอยการเรียนการสอนภาษาจีนตั้งแต่การอพยพเข้ามาของชาวจีนโพ้นทะเล ลักษณะการเรียนการสอนภาษาจีนในสังคมไทยแต่ละช่วงขึ้นอยู่กับการส่งเสริมของรัฐบาล กระแสการเรียนการสอนภาษาจีนได้รับความนิยมมาก หลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก ( WTO ) ในปีค.ศ.2001   โดยหลังจากนั้นภายใต้การส่งเสริมการเรียนการสอนเชิงรุกของรัฐบาลจีนในรูปแบบต่างๆ ทำให้ปริมาณการเรียนการสอนภาษาจีนในไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทว่าสิ่งที่เราควรตระหนักมากกว่านั้นคือการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนจีน

        ในฐานะภาษาจีนเป็นหนึ่งในภาษาโบราณที่สำคัญของโลก ชาวโลกเริ่มรู้จักภาษาจีนตั้งแต่สมัยราชวงค์ถัง ( ค.ศ.618-907 ) เพราะศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง โดยเฉพาะการส่งเสริมทางด้านการต่างประเทศของราชวงค์ดังกล่าว ถัดมาช่วงราชวงค์ซ่ง หยวน หมิง ชิงก็มีการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติประปราย จนกระทั่งก่อนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเปิดสอนรายวิชา “ภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ” ณ มหาวิทยาลัยเยี่ยนจิง( Yanjing )  

        การเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ เริ่มอย่างเป็นทางการหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มหาวิทยาลัยชิงหวาได้จัดตั้ง “ห้องเรียนภาษาจีนสำหรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนยุโรปตะวันออก” ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ.1950  และหลังจากการปฎิรูปเศรษฐกิจของจีนในปีค.ศ. 1978 “การเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ” เป็นศาสตร์ความรู้ที่มีการอภิปรายในเวทีต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม จากการผลักดันนโยบายการพัฒนาภาษาจีนในรูปแบบต่างๆ ของรัฐบาลจีนภายใต้กระแสการเรียนภาษาจีน กระทั่งในปีค.ศ. 2018 มีการเปิดหลักสูตรปริญญาเอกที่เกี่ยวข้อง และมีการจัดตั้งสถาบันขงจื่อทั่วโลกทั่วโลก 548 แห่ง และมีห้องเรียนขงจื่อจำนวน 1,193 แห่งทั่วโลก จำนวนผู้เรียนภาษาจีนที่กระจายอยู่ทั่วโลกมากถึงเกือบ 2 ล้านคน

         ขณะเดียวกันจำนวนผู้เรียนภาษาจีนในฐานะต่างประเทศในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปกติแล้ว องค์ประกอบพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย “ผู้สอน  เอกสารประกอบคำสอน(ตำรา) กระบวนการเรียนการสอน” ( 教师、教材、教学 ) ผลจากการรายงานการศึกษาวิจัยต่างๆ ยังคงพบว่า “ ปัญหาผู้สอนที่พบมากคือภาระงานบริหารหรืออื่นๆ มาก ทำให้ผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการพัฒนาเชิงวิชาการที่จำกัด ขณะเดียวกันการพัฒนาเอกสารประกอบคำสอนหรือตำราเรียนภาษาจีนที่เชื่อมโยงความรู้อย่างเป็นระบบจากระดับประถมสู่มัธยม และมัธยมสู่ระดับอุดมศึกษายังขาดความต่อเนื่องและเป็นระบบ” ยิ่งการเรียนการสอนภายในใต้เงื่อนไขสถานการณ์ของโรคระบาดและการส่งเสริมการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ( Blended learning ) การเรียนการสอนแบบออนไลท์เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ท้าทายการพัฒนาของผู้สอน การปฎิสัมพันธ์กับผู้เรียนและความร่วมมือจากผู้สอนด้วยกัน

          ในด้านการพัฒนาผู้สอนจากรูปแบบกระดานเป็นรูปแบบออนไลน์ที่ผ่านแฟลตฟอร์มและสื่อมัลติมิเดียต่างๆ เป็นการเรียนที่มีเงื่อนไขด้านเวลา ผู้สอนควรให้ผลสะท้อนกลับกับผู้เรียนให้ทันท่วงที ในการเรียนการสอนผู้สอนควรเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อเป็นการเพิ่มปฎิสัมพันธ์กับผู้เรียนและผู้สอนควรลดบทบาทจากผู้สอนเป็นผู้ชี้นำ ในด้านความร่วมมือผู้สอนกันเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะในขั้นตอนของการเตรียมสอน ควรมีการหารือ แลกเปลี่ยนวิธีการเตรียมสอน เพื่อให้การเตรียมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด  

            ทุกวันนี้การเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศของไทย เป็นศาสตร์ความรู้ที่แพร่หลาย แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนดังกล่าวควรคำนึงถึงประสิทธิภาพของ“ผู้สอน  เอกสารประกอบคำสอน(ตำรา) กระบวนการเรียนการสอน” และภายใต้ความท้าทายของการเรียนการสอนผ่านออนไลท์ในรูปแบบต่างๆ  ยิ่งต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของการรับเอาภาษาที่สอง Second Language Acquisition (SLA) และแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น

 

 

แหล่งข้อมูลอ่างอิง :

       พิชัย รัตนพล. (1969).วิวัฒนาการการควบคุมโรงเรียนจีน. พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.วิทยานิพนธ์

     รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับอุดมศึกษา.( 2559). พิมพ์ครั้งที่ 1 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กรุงเทพ.    

    任思潼.(2021).互联网授课对于对外汉语教师的启发.文学教育 , 1 期。

    陈东平.(2021).汉语国际教育业发展现状及教学对策.高等教育. 2期。

 

 

  • 1610