มองอัตลักษณ์ท้องถิ่นผ่านสำนวนพื้นบ้าน "民间俗语"

Categories: sclc-ชีพจรจีน

คอลัมน์ออนไลน์ "ชีพจรจีน" ประจำเดือนมีนาคม 2566

เรื่อง มองอัตลักษณ์ท้องถิ่นผ่านสำนวนพื้นบ้าน "民间俗语"

โดย อาจารย์อาทิตย์ มาตรงามเมือง

     หลายๆท่านคงคุ้นตากับคำศัพท์นี้เป็นอย่างดี “ 谚语 ” ทว่าแปลเป็นภาษาไทยแบบตรงตัวแล้วนั้นก็อาจหมายถึงสุภาษิตคำพังเพย ซึ่งในภาษาจีนนั้นต่างก็มีอยู่มากมายหลากหลายสำนวน ซึ่งอาจจะนำมาเปรียบเปรยสถานการณ์ต่างๆ หรืออาจรวมไปถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมมีความเป็นจริงหรืออาจสื่อถึงผู้คนในรุ่นก่อนมีการสืบทอดต่อๆกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในปัจจุบันก็ยังคงมีใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่วันนี้ผู้เขียนขออญาตนำเสนอสำนวนในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการสะท้อนถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นนั้นๆ โดยถ่ายทอดผ่านสำนวนพื้นบ้านที่มีชื่อเรียกว่า —— 民间俗语

     “ 生在苏州 玩在杭州 ” หลายๆท่านคงสงสัยทำไมถึงต้องเรียกว่า “ เกิดที่เมืองซูโจว และเที่ยวเล่นที่หางโจว ” อันเนื่องมาจากเมืองดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นเมืองที่โดดเด่นเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติที่เหมือนดังภาพวาด อาทิทะเลสาบที่มีมากถึง 7 แห่ง อาทิ มีตำราเรียนหรือบทกลอนหลายๆบทกลอนได้มีการพรรณนาถึงความงามทะเลสาบ(西湖)ซีหู สภาพอากาศที่ชุ่มชื้นด้วยความงามที่ธรรมชาติสรรสร้างคนสมัยก่อนจึงได้มีการพรรณนาถึงความงามของเมืองดังกล่าวว่า “上有天堂,下有苏杭 ” เป็นเมืองที่มีความงดงามดุจดังสวรรค์ “苏州风光好,美女遍地,人才辈出 ” ธรรมชาติงดงามตา หนุ่มสาวสวยสดประดุจเทพปั้น เป็นเมืองของนักปราชญ์ มีผู้คนมากมายต่างก็หมายปองและปรารถนาที่จะมาใช้ชีวิตในเมืองแห่งนี้

     “ 穿在杭州 ” เครื่องนุ่งห่มถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ ที่เมืองหางโจวนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเสื้อผ้าอาภรณ์ ที่หลายๆคนรู้จักกับผ้าไหมเนื้อดีรวมทั้งยังมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน คนจีนทุกคนต่างทราบกันดีในนามของ “ 丝绸之府 ” เมืองหลวงของผ้าไหม อีกทั้งยังเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าบนเส้นทางสายไหมในสมัยโบราณกาล รวมถึงเป็นหนึ่งใน7เมืองโบราณของจีน ในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อย้อนกลับไปราวประมาณ 4,700 ปี ในยุคของอารยธรรม( 良渚文化)เหลียงจู ได้มีการขุดพบเครื่องมือสิ่งทอผ้าไหมกระจายอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว และในยุคราชวงศ์ถังมีนักกวีท่านหนึ่ง( 白居易)ไป๋จวู้ยอี้ ได้เขียนบทกลอนสะท้อนถึงความเป็นอัตลักษณ์ของหางโจวโดยถ่ายทอดออกมาผ่านบทกลอน《杭州春望》หางโจวชุนว่าง และมีท่อนหนึ่งของบทกลอนได้กล่าวถึงอาภรณ์ไว้ว่า “ 丝袖织绫夸柿蒂 ” ซึ่งกวีข้างต้นเป็นการพรรณนาถึงทักษะการทอผ้าอันประณีตของคนงานหญิงในหางโจว

     “ 食在广州一语,几无人不知之,久已成为俗谚。” ทุกท่านคงทราบกันดีว่าอาหารในประเทศจีนนั้นอยู่อยู่ทั้งหมด 8 กลุ่มใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น (山东菜)อาหารซานตง (四川菜)อาหารเสฉวน (江苏菜)อาหารเจียงซู (浙江菜)อาหารเจอเจียง (福建菜)อาหารฮกเกี้ยน (湖南菜)อาหารหูหนาน (安徽菜)อาหารอันฮุย และ (粤菜) อาหารกวางตุ้ง ซึ่งในบรรดาอาหารทั้ง 8 กลุ่มนี้ อาหารที่ได้มีการขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลายในเรื่องของวัตถุดิบคงหนีไม่พ้นอาหารกวางตุ้ง(广府菜)กว่างฟู่ช่าย หรือ อาหารกว่างโจว คืออาหารหลักตัวแทนของอาหารกวางตุ้งทั้งหมด คนกว่างโจวค่อนข้างให้ความสำคัญกับวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร กว่างโจวถือว่าเป็นเมืองแห่งการค้านับมาหลายชั่วอายุคน ไม่ว่าจะเดินไปตรอกซอยไหนของกว่างโจวก็สามารถพบอาหารการกินได้โดยทั่วไป เพื่อตอกย้ำความชัดเจนของสำนวนนี้ย้อนไปเมื่อปี 1927 (鲁迅 )หลู่ซวิ้น นักประพันธ์ชื่อดังของจีนในสมัยนั้นได้นั่งเรือไปเยือนกว่างโจวโดยการเยือนครั้งนั้นได้มีเพื่อนเก่าของเขาเป็นคนนำเที่ยวและให้การต้อนรับ ก่อนที่เขาจะเดินออกจากกว่างโจวเขาได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนเก่าของเขาโดยมีเนื้อความท่อนหนึ่งที่กล่าวว่า “ 这里很繁盛,饮食倒极便当。” เมืองนี้เจริญรุ่งเรือง ถึงอาหารจะมีราคาสูงแต่ก็คุ้มค่ากับวัตถุดิบที่นำมาใช้ใรการปรุงแต่ง

     “死在柳州” เกิดแก่เจ็บตายมนุษย์เราทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องประสบพบเจอ แต่ทำไมถึงต้องเลือกความตายที่หลิ่วโจว คนจีนต่างทราบกันดีว่าในเขตพื้นที่นี้มีไม้จำปาเนื้อพันธ์ดีกระจายอยู่เป็นจำนวนมากและผู้คนนิยมนำมาแปรรูปเป็นโลงศพหลายชั่วอายุคน ตามตำนานกล่าวขานไขถึง (柳宗元)หลิ่วจงหยวน บุคคลท่านนี้เป็นหนึ่งในนักศึกษาเอกสมัย“ 唐宋八大家之一 ” หลิ่วจงหยวนได้ไปรับราชการที่หลิ่วโจว และเคยถูกเนรเทศจากเมืองใหญ่ ให้มาอยู่ในเมืองหลิ่วโจว และ เขาได้สิ้นชีวิตลงในเวลาต่อมา ผู้คนในหลิ่วโจวต่างก็แสดงความเสียใจต่อการจากไปของหลิ่วจงหยวน ในเวลาเดียวกันจึงได้สั่งจัดทำ (楠木棺材)หนานมู่กวนฉาย หรือ โลงศพไม้จำปา และนำร่างที่ไร้ซึ่งวิญญาณของหลิ่วจงหยวนบรรจุลงหีบศพ ศพของหลิ่วจงหยวนจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายนำกลับประกอบพิธีกรรมและฝังร่างที่บ้านเกิดที่(河东)เมืองเหอตง แต่ทว่าระยะทางค่อนข้างไกลหลายพันลี้ อาจต้องใช้เวลาหลายวันในการเคลื่อนย้ายร่าง แต่พอถึงบ้านเกิดของหลิ่วจงหยวนกลับทำให้หลายๆคนต้องประหลาดใจกับสภาพร่างที่บรรจุอยู่ภายในหีบ เพราะร่างนั้นยังคงสภาพดี ไม่มีการย่อยสลายใดๆทั้งสิ้น ใบหน้าของเขายังคงเดิม และเรื่องราวการจากไปของหลิ่วจงหยวน จึงเป็นที่มาของสำนวนดังกล่าว

     “ 生在苏州,穿在杭州,食在广州,死在柳州 ” เป็นนำนวนที่สื่อถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน ต่างก็มีนัยสำคัญของวัฒนธรรมที่สอดแทรกอยู่ อาทิ วัฒนธรรมการกิน อารยธรรมของนุษย์ในแต่ละช่วงยุคสมัย วัฒนธรรมการแต่งกาย และเมืองข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คนจีนส่วนใหญ่ต่างก็ปรารถนาอยากมาใช้ชีวิต ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะมีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม ดังสำนวนจีนที่ได้กล่าวไว้ว่า “ 心动不如行动 ” ใจของทุกคนน่าจะอยู่ที่เมืองจีนกันแล้ว อย่าลืมเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ลองไปสัมผัสตามรอยอารยธรรมผ่านสำนวนจีนกันนะครับ

อ้างอิง

知乎“生活在苏州是什么样的感受? ”https://www.zhihu.com/question/310610289/answer/826595920

百科“上有天堂下有苏杭” https://baike.sogou.com/v76609076.htm

知乎“为什么说上有天堂,下有苏杭” https://www.zhihu.com/question/50177049

搜狐民谣“生在杭州,死在柳州” https://www.sohu.com/a/465994371_99943903

家和家政 https://zhidao.baidu.com/question/511975291.html

https://view.inews.qq.com/k/20210617A03FEB00...

百科“死在柳州” https://baike.sogou.com/m/v122082.htm

  • 44