“สถาปัตยกรรม” ที่น่ารับประทานของจีน

Categories: sclc-ชีพจรจีน

คอลัมน์ออนไลน์ "ชีพจรจีน" ประจำเดือนกรกฎาคม 2566

เรื่อง “สถาปัตยกรรม” ที่น่ารับประทานของจีน

โดย อาจารย์ ดร.นิสรีน หวังตักวาดีน (อาจารย์ประจำสำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

     ระยะหลังเรามักจะเห็นการนำเสนอไอศครีมรูป “สถาปัตยกรรม” ผ่านสื่อของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ คล้ายเป็น “สัญลักษณ์”ที่สำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนทุกคนจะต้องเช็คอิน จริงๆ แล้วสินค้าลักษณะนี้เป็นผลพวงทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ แล้ววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในจีนมีที่ไปที่มาอย่างไรหล่ะ?

     ในปี 2015 หลีเค่อเฉียงรัฐมนตรีของจีนในสมัยนั้น ได้มีการประกาศนโยบาย “อินเตอร์เนตพลัส”(互联网+) ภายใต้แผนปฏิบัติการดังกล่าว จีนจึงดำเนินการผลักดันการผสมผสานอินเตอร์เน็ตและอุตสาหกรรมดั้งเดิม หนุนการขยายตัวจากอุตสาหกรรมการบริโภคไปสู่การผลิตอย่างเป็นรูปธรรม หลายๆ พื้นที่ในจีนจึงมีการให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมส่งเสริม “วัฒนธรรมสร้างสรรค์” ( 文创) ที่คำนึงถึงลักษณะเด่นของแต่ละพื้นที่ “วัฒนธรรมสร้างสรรค์” สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่นประเภทโบราณสถาน ศิลปะหัตถกรรม เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อาหารเป็นต้น “อาหาร” จึงเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

     สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่มีชื่อเสียง ตั้งแต่พระราชวังโบราณ (กู้กง) หยวนหมิงหยวน ม่อเกาคู สุสานฉินซี เป็นต้น จึงนิยมไอศครีมภาพจำลองจากสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพจำลองสถาปัตยกรรม สัตว์นานาชนิด ดอกไม้ต่างๆ ของสถานที่นั้นๆ บางที่ยังมีการสกรีนภาพทางวัฒนธรรมบนไม้ไอศรีม ซึ่งสามารถนำกลับไปเป็นที่ระลึกได้อีก

     นอกจากไอศครีมแล้ว ที่เมืองแห่งวัฒนธรรมซีอานเมืองที่สำคัญของจีน เริ่มมีการนำเสนอคุกกี้ในแนว “วัฒนธรรมสร้างสรรค์” เป็นคุกกี้รูปสถาปัตยกรรมที่สำคัญของเมืองซีอานทั้ง 12 แห่ง เช่นประตูเมืองฉางเล่อ ต้าหมิงกงเป็นต้น คุกกี้แบบนี้จึงกลายเป็นของฝากสำคัญของเมืองซีอานไปโดยปริยาย

     ทั้งนี้ ภายใต้แผนปฏิบัติการดังกล่าว จีนมีแนวโน้มในการผลักดันการผสมผสานอินเตอร์เน็ตและสินค้าวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งอินเตอร์เน็ตไม่ได้แค่พลิกโฉมรูปแบบทางด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมดั้งเดิมต่างๆ เพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและกระตุ้นการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง

นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์ และ รัตนา. (2558, 11 มีนาคม). ฤาแผนปฏิบัติการ”Internet Plus” จะอัพเกรดจีนสู่การเป็นมังกรไซเบอร์?. ข่าวออนไลน์RYT9. https://www.sohu.com/a/499487927_121124420...

张弛,钱宇程และ 李艳芳. (2564, 11 มิถุนายน). 上新啦!“浪浪西安”带你浪西安. SOHU.com(揑狐). https://www.sohu.com/a/499487927_121124420...

 

  • 58