เม้าท์มอยภาษาจีน เรื่องภาษาพูดกับภาษาเขียน

Categories: sclc-ชีพจรจีน

คอลัมน์ออนไลน์ "ชีพจรจีน" ประจำเดือนสิงหาคม 2566

เรื่อง เม้าท์มอยภาษาจีน เรื่องภาษาพูดกับภาษาเขียน

โดย อาจารย์ ดร.ธีรภาพ ปรีดีพจน์ (คณบดีสำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

     ภาษาพูด(ภาษาปาก) กับ ภาษาเขียน(ภาษาหนังสือ) ในภาษาจีนนับว่าเป็นเรื่องที่ยากเรื่องหนึ่งเลย ว่ามั้ย บทความนี้จึงอยากชวนมาเม้าท์มอยกันสักหน่อย พร้อมยัง ถ้าพร้อมแล้ว ไปว่ากันเลยดีกว่า

     ก่อนจะไปพูดคุยในรายละเอียด มาทำแบบทดสอบกันสักหน่อยดีกว่า ลองบอกหน่อยซิ ว่าคำต่อไปนี้เป็นภาษาพูด หรือ ภาษาเขียน ถ้าเป็นภาษาพูด ช่วยบอกหน่อยว่าภาษาเขียนของมันคือคำว่าอะไร เช่นกัน ถ้าตอบว่าคำนั้นเป็นภาษาเขียน ก็ช่วยบอกด้วยว่าภาษาพูดของมันคืออะไร Let’s go!

买、卖、好看、找工作、英俊、付款、结账、否则、没有、开除

ติ๊กต็อก ติ๊กต็อก ติ๊กต็อก!

แต่น แต่น แต๊น! เฉลย

1. 买(ภ.พูด) = 购/购买(ภ.เขียน)

2. 卖(ภ.พูด) = 售/销售/推销(ภ.เขียน)

3. 小气(ภ.พูด) = 吝啬(ภ.เขียน)

4. 找工作(ภ.พูด) = 求职/就业/应聘(ภ.เขียน)

5. 务必(ภ.เขียน) = 得/要(ภ.พูด)

6. 付款(ภ.เขียน) = 付钱/给钱(ภ.พูด)

7. 结账(ภ.เขียน) = 买单(ภ.พูด)

8. 否则(ภ.เขียน) = 不然(ภ.พูด)

9. 没有(ภ.พูด) = 无(ภ.เขียน)

10. 开除(ภ.พูด) = 解雇(ภ.เขียน)

การรู้ว่าคำไหนเป็นภาษาพูด คำไหนเป็นภาษาเขียนมีประโยชน์มากมายหลายประการเลยแหละ เช่น

     1. เวลาที่เราไปสมัครงาน แล้วต้องกรอกใบสมัคร ซึ่งคำศัพท์ในใบสมัครมักเป็นภาษาหนังสือ ถ้าเราไม่รู้จัก เราก็จะกรอกไม่ถูก และอาจจะพลาดโอกาสในการได้งานไปเลย ทั้งๆ ที่ถ้าเป็นการสัมภาษณ์ และผู้สัมภาษณ์ใช้คำศัพท์ที่เป็นภาษาพูด เราอาจจะตอบได้หมด เช่น “คู่สมรส” ใช้คำว่า 配偶 ไม่ได้ใช้คำว่า 对象、爱人、男/女朋友 “อายุ” ใช้คำว่า 年龄ไม่ได้ใช้คำว่า 年纪、岁数 “สถานภาพการสมรส” ใช้คำว่า 婚姻状况 ไม่ได้ใช้คำว่า 结婚状况 “เงินเดือน” ใช้คำว่า 薪资 ไม่ได้ใช้คำว่า 薪水

     2. ถ้าเราต้องการทำป้ายประกาศ ป้ายบอกสถานที่ หรือ ป้ายชื่อต่างๆ และเราใช้คำศัพท์ที่เป็นภาษาพูด ก็จะสะท้อนถึงความไม่เป็นมืออาชีพ หรือ มีภูมิความรู้น้อย ซึ่งอาจทำให้ผู้รับสารหรือผู้พบเห็นดูแคลน หรือไม่ให้คุณค่าเท่าที่ควรก็เป็นได้ เช่น ป้ายบอก “ทางเข้า” “ทางออก” จะใช้คำว่า “入口” กับ “出口” ไม่ได้ใช้คำว่า 进口、出口 ป้ายขายบ้านและที่ดิน จะใช้คำว่า 出售 ถ้าใช้คำว่า 卖 จะถูกมองว่าไม่เป็นมืออาชีพ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ขายไม่สำเร็จก็เป็นได้

     เอาหละ แบบทดสอบก็ทำไปแล้ว ประโยชน์ของการรู้และใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนให้เหมาะสมกับบริบทก้ว่ากันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ คราวนี้ มาดูเรื่องการแปลงคำจากภาษาพูดให้เป็นภาษาเขียน และ จากภาษาเขียนให้เป็นภาษาพูดกันดีกว่า เอ๊ะ ทำได้ด้วยหรือ ทำยังไงอะ

     ในภาษาจีน คำศัพท์บางกลุ่มสามารถเติมหรือลดปัจจัยบางอย่างเพื่อให้ภาษาพูดกลายเป็นภาษาเขียน และ ให้ภาษาเขียนกลายเป็นภาษาพูดได้ มาดูกัน

     1. คำนามบางคำสามารถเติมปัจจัย(后缀 Suffix)หรืออุปสรรค(前缀Prefix)เข้าไป แล้วทำให้เปลี่ยนจากภาษาเขียนเป็นภาษาพูดได้ เช่น 姨—阿姨、虎—老虎、桃—桃子、新娘—新娘子、鸟—鸟儿、石—石头 (คำหน้าเป็น ภ.เขียน คำหลังเป็น ภ.พูด)

     2. คำคุณศัพท์บางคำสามารถเติมปัจจัยเข้าไปหรือการซ้ำคำแบบ AA的 แล้วทำให้เปลี่ยนจากภาษาเขียนเป็นภาษาพูดได้ เช่น 绿—绿油油、黑—黑漆漆、亮—亮晶晶、冷—冷清清、灰—灰不溜秋、傻—傻不愣登、红—红红的、暗—暗暗的、高—高高的、酸—酸酸的(คำหน้าเป็น ภ.เขียน คำหลังเป็น ภ.พูด)

     3. คำวิเศษณ์บางคำที่อยู่ในรูปคำซ้ำ เมื่อเป็นคำโดดจะเป็นภาษาเขียน และเมื่อเป็นคำซ้ำจะเป็นภาษาพูด เช่น 常—常常、刚—刚刚、仅—仅仅、明—明明、稍—稍稍 (คำหน้าเป็น ภ.เขียน คำหลังเป็น ภ.พูด)

     รู้อย่างนี้แล้ว เลือกใช้คำที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียนให้ถูกที่ ถูกเวลา และถูกสถานการณ์ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่ากันนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง

口语与书面语的区别สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566 จาก https://zhuanlan.zhihu.com/p/511819920

口语与书面语สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566 จาก https://wenku.baidu.com/.../9a66497230126edb6f1aff00bed5b...

Liu Yuehua. (2001). Shiyong Xiandai Hanyu Yufa [Practical Modern Chinese Grammar]. Beijing: The Commercial Press.

  • 94