คอลัมน์ออนไลน์ "ชีพจรจีน" ประจำเดือน สิงหาคม
เรื่อง จิตวิญญาณของเพื่อนร่วมชาติในยามวิกฤต อุทกภัย ณ เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน
โดย อาจารย์ ดร. นิสรีน หวังตักวาดีน
ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกมีความหลากหลาย เหตุการณ์บางเหตุการณ์มีเวลาให้เรา “เตรียมใจ” แต่ภัยพิบัติบางเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่าง “ฉับพลัน” อย่างเช่นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ที่เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนานเกิดฝนตกหนัก จนทำให้เกิดน้ำท่วมฉันพลัน ทำให้สภาพการจราจรติดขัดทั้งทางบก(รถยนต์ รถไฟ) และทางอากาศ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ นำความเสียหายมาสู่พลเมืองในมณฑลเหอหนานอย่างมาก ในเมื่อเป็นภัยพิบัติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วชาวเมืองเจิ้งโจวต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งนี้อย่างไหร่หล่ะ?
พนักงานออฟฟิศคนหนึ่งเล่าว่า เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 หลังจากที่ฝนตกหนักต่อเนื่อง พนักงานในบริษัทได้รับแจ้งว่าไฟจะดับ ตอนที่จะก้าวออกจากออฟฟิศน้ำท่วมถึงระดับหัวเข่า จึงเดินกลับขึ้นไปใหม่ นั่งรอต่อไปอีกชั่วโมงกว่า ฝนยังไม่มีทีท่าที่จะหยุดเพราะไม่อยากค้างที่ทำงาน จึงตัดสินใจลุยน้ำขึ้นรถไฟใต้ดินกลับบ้าน หลังขึ้นรถไฟรู้สึกโล่งอกทันที แต่หลังจากที่รถแล่นไปได้เพียง 1 สถานี รถไฟหยุดกระทันหัน น้ำค่อยๆ ซึมเข้ามาในรถ พนักงานบนรถทยอยช่วยเหลือเพื่อหาออกจากรถ แต่ก็ล้มเหลว เพราะทางไหนๆ ก็เต็มไปด้วยน้ำ น้ำค่อยๆ สูงขึ้นถึงระดับเอว แม้ว่าจะยืนอยู่บนที่นั่งของรถไฟน้ำก็ยังค่อยๆ สูงขึ้นถึงระดับอก ทำให้รู้สึกเริ่มกลัว อากาศภายในรถค่อยๆ ลดลง ทุกๆ คนก็เริ่มหายใจลำบาก ได้ยินป้าคนหนึ่งกำลังสั่งเสียเรื่องบัญชีธนาคารให้กับทางครอบครัว แล้วตอนนี้ข้าพเจ้าควรทำอย่างไรหล่ะ? จึงฝากข้อความให้แม่ว่า “ ลูกคงไม่ไหวแล้วหล่ะ? รู้สึกกลัวจัง” ตอนแม่โทรกลับบอกเพียงสั้นๆ ไปว่า “กำลังรอความช่วยเหลืออยู่” แล้วก็วางสายทันที
ช่วงหกโมงเย็นถึงสองทุ่มเป็นช่วงที่ระส่ำระสายที่สุด และฉันก็อยู่ในสภาพที่สลืมสลือ เพราะในรถไฟขาดอ๊อกซิเจน ตื่นมาอีกทีเพราะได้ยินเสียงโทรศัพท์จากแม่อีกครั้ง และได้คุยกับคน ที่จะมาช่วยเหลือ เขาตอบว่า “กำลังหาวิธีกันอยู่ ใกล้หละ ใกล้ถึงหล่ะ” ณ ตอนนั้นได้ยินเสียงคนเดินบนรถไฟ พวกเขากำลังทุบโบกี้อย่างแรง ทุบครั้งแล้วครั้งเล่าจนกระทั่งกระจกรถไฟแตกไปสองบาน ทำให้มีอากาศแล้วดูเหมือนหายใจคล่องขึ้น หลังจากนั้นได้ยินเสียงของคนมาช่วย พวกเขาตะโกนว่า “ ช่วยประคองคนที่เป็นลมออกไปกันก่อน ให้ผู้หญิงออกไปก่อน ” มาย้อนคิดตอนนี้รู้สึกว่าตัวเองโชคดีมาก เพราะ ณ ตอนนั้นไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่า “พรุ่งนี้กับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอะไรจะเกิดขึ้นก่อน”?
เหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัยที่เกิดขึ้นครั้งนี้ สร้างความเสียหายอันใหญ่หลวงให้กับเมืองเจิ้งโจว มีชาวเหอหนานสิบกว่าล้านคนประสบภัยน้ำท่วมครั้งนี้ แต่หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวประชาชนชาวจีนจากทั่วสารทิศ ได้หยิบยื่นสิ่งดีๆ ให้กับชาวเหอหนานอย่างพร้อมใจและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือจากทางภาครัฐหรือเอกชน โดรนขนาดยักษ์ที่ขนเสาสัญญานจากเมืองกุ้ยโจวทางทิศตะวันตกของจีนไปตั้งกลางอากาศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้อุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ เครื่องสูบน้ำขนาดยักษ์ ที่เรียกว่า “หลงซีซุ่ย 龙吸水” ทั่วประเทศจีนมีจำนวน 30 เครื่อง ช่วงเกิดอุทกภัยมารวมพลช่วยชาวเจิ้งโจวมากถึง 22 เครื่อง ในการช่วยเหลือการระบายน้ำที่เจิ้งโจว การบริจาคของบริษัทรองเท้าแบรนด์ Erke (เออร์เก้) ได้สร้างความประทับใจให้ชาวจีนมากที่สุด แบรนด์ดังกล่าวเป็นแบรนด์จีนที่ประสบความสำเร็จในการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2000 แต่ยอดขายในช่วงหลังๆ ถดถอยจนแทบจะล้มละลาย แต่บริษัทดังกล่าวกลับบริจาคให้กับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้สูงถึง 50 ล้านหยวน การบริจาคดังกล่าว สร้างความชื่นชมให้กับชาวจีนมาก
ในความเป็นจริงการช่วยเหลือกันของชาวจีนนี้ เป็นวัฒนธรรมที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่อดีต ในอดีตประเทศจีนมีชื่อว่า “九州จิ่วโจว”แปลว่า เก้ารัฐ ในสำนวนที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ “一方有难八方支援อี้ฟางโหยว่น่าน ปาฟางจือหยวน” ปาฟาง “八方” หมายถึง แปดทิศ (แปดรัฐที่ไม่ประสบภัย) จึงสามารถแปลความหมายเป็น ฝ่ายหนึ่งประสบอุปสรรค ความช่วยเหลือ มาจากทุกสารทิศ จิตวิญญาน “การช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติ” ของจีนจึงมีความโดดเด่นมาก การ “ช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติ” ดังกล่าวก็น่าจะเป็นแบบอย่างให้กับทุกๆ ประเทศในโลกได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1706162485009842238&wfr=spider&for=pc
https://www.jianshu.com/p/fe8fbf6fe430
https://mgronline.com/china/detail/9630000015440
http://www.jiaodong.net/news/system/2007/08/06/010066689.shtml