ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย (Vegetarian Festival) ที่จัดขึ้นในภูเก็ตเป็นประเพณีทางศาสนาที่มีรากฐานในชนชาติจีน ซึ่งกล่าวถึงการระงับการบริโภคอาหารที่มีเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ตลอดช่วงเวลาประเพณีที่ประมาณ 9-10 วัน ประเพณีนี้เกิดจากความศรัทธาและความเชื่อของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตและประเทศไทย ตรงกับวันที่ขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ (เก้าโง้ยโฉ่ยอีดถึงโฉ่ยเก้า) ตามปฏิทินจีนของทุกปี
จุดมุ่งหมายของเทศกาลกินเจนั้น คือการชำระล้างบาป เน้นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจ อีกทั้งยังเป็นการทำบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมไปถึงการรักษาศีลห้าตลอดทั้ง 9 วัน ซึ่งใน 9 วันนี้ จะมีประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อต่างๆ
และในวันนี้ผู้เขียนจะนำทุกท่านไปเรียนรู้ภาษาจีน ผ่านพิธีกรรมต่างๆ ในประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ตดังต่อไปนี้
起高灯柱 (qǐ gāo dēng zhù) หรือ พิธียกเสาโกเต้ง
“起” (qǐ) ในภาษาจีนหมายถึง “เริ่ม” หรือ “เปิด”
“高灯柱” (gāo dēng zhù) ในภาษาจีนหมายถึง “โคมไฟสูง” โดย “高” หมายถึง “สูง” “灯” หมายถึง “โคมไฟ” หรือ และ “柱” หมายถึง “เสา” หรือ “เสาค้ำ” ดังนั้น “高灯柱” คือโคมไฟที่ติดอยู่บนเสาสูง เป็นการอัญเชิญองค์หยกฮ่องซ่งเต่และองค์กิ๋วอ๋องไต่ มาเป็นประธานในพิธีโดยจัดในวันแรกของเทศกาลกินผัก นับว่าเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการเริ่มต้นของเทศกาลถือศีลกินผักของภูเก็ต
爬刀梯 (pá dāo tī) พิธีปีนบันไดมีด
“爬” (pá) ในภาษาจีนหมายถึง “ปีน” หรือ “การเคลื่อนที่ขึ้น” โดยใช้ส่วนต่ำของร่างกายเป็นระยะหรือการปีนขึ้นไปบนพื้นผิวหรือโครงสร้างอื่น ๆ โดยใช้มือและเท้า เป็นการเคลื่อนที่ในทิศทางที่สูงขึ้น
“刀梯” (dāo tī) ในภาษาจีนหมายถึง “บันไดดาบ” หรือ “บันไดที่มีมีดคม”
ด้านบนสุดของบันไดจะมีธงปักอยู่โดยเหล่าม้าทรงจะต้องปีนบันไดที่มีความสูงชันเป็นพิเศษซึ่งบันไดแต่ละขั้นนั้น จะทำมาจากมีดที่มีความคมมาก ไม่เพียงแค่นั้น เมื่อปีนขึ้นไปได้ก็ต้องปีนลงมาเช่นกัน
过火 (guò huǒ) พิธีลุยไฟ (โก้ยโห้ย)
“过” (guò) ในภาษาจีนมีหลายความหมายขึ้นอยู่กับบริบทและการใช้งาน แต่ความหมายที่แพร่หลายที่สุดคือ “ผ่าน” หรือ “ทะลุ”
“火” (huǒ) ในภาษาจีนหมายถึง “ไฟ” หรือ “สิ่งไหม้” ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานความร้อนและแสงที่เกิดจากการเผาไหม้
เป็นการให้ม้าทรงเดินลุยไฟ เพื่อชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ควบคุมความร้อนจากไฟได้
游境 (yóu jìng) พิธีแห่พระรอบเมือง (พิธีอิ้วเก้ง)
“游”(yóu) ในภาษาจีนมีหลายความหมายขึ้นอยู่กับบริบทและการใช้งาน แต่ความหมายที่แพร่หลายสุดคือ "เดินท่องเที่ยว"
“境” (jìng) ในภาษาจีนหมายถึง “ขอบเขต” หรือ “สถานที่ที่แนวเริ่ม” ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสถานที่หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอารยธรรมและวัฒนธรรม
เป็นพิธีที่ม้าทรงจะเวียนขบวนแห่ไปยังรอบเมืองภูเก็ต โดยมีการใช้มีด ดาบทิ่มแทงตามร่างกายของตนเอง
过限 (guò xiàn) พิธีข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์ (โก้ยห่าน)
“过” (guò) ในภาษาจีนมีหลายความหมายขึ้นอยู่กับบริบทและการใช้งาน แต่ความหมายที่แพร่หลายที่สุดคือ “ผ่าน” หรือ “ทะลุ”
“限” (xiàn) ในภาษาจีนหมายถึง “ขีดจำกัด” หรือ “จำกัด” ซึ่งใช้ในบรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดหรือกำหนดสิ่งใดให้เป็นไปตามขีดจำกัดที่กำหนดไว้
เป็นพิธีที่จะจัดในวันสุดท้ายของเทศกาลถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ตโดยการข้ามสะพานจะมีตุ๊กตา สำหรับเขียนชื่อ วันเดือนปีเกิด ส่วนด้านใต้สะพานจะมีตะเกียงไฟน้ำมัน เพื่อเป็ นกุศโลบายว่าได้ทำการปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกจากผู้เข้าร่วมพิธี
ข้อมูลอ้างอิง
ไชยยุทธ ปิ่นประดับ. (ม.ป.ป.) ประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) จังหวัดภูเก็ต. ประเพณีถือศีลกินผัก(กินเจ) จังหวัดภูเก็ต. https://www.phuketvegetarian.com/history/
ที่มารูปภาพ
Phuket OK - Phuket Ok (phuketoknews.com)