ความสัมพันธ์ของชาติไทยกับนานาอารยประเทศมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานีซึ่งมี การติดต่อสัมพันธ์กันทั้งชาติตะวันออกและชาติตะวันตกหลายๆ ชาติที่เข้ามาสยาม ในเวลานั้นต่างก็มี จุดประสงค์เพื่อการค้าขาย การทูต และการเผยแพร่ศาสนา นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่อยุธยาก็ได้รับ วิทยาการใหม่ๆ เข้ามาอย่างแพร่หลายมากมาย นับจากอาณาจักรอยุธยาล่มสลาย สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชได้กอบกู้เอกราช และทรงสถาปนากรุงธนบุรี ขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (郑信) นามเดิม “ สิน” เป็นชาวจีนโพ้นทะเลเพียงคนเดียวที่ ได้ทรงสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งสยามรัฐ พระองค์มีพื้นเพมาจากเมืองเฉิงไห่ (澄海) มลฑลกวางตุ้ง (广东)ทั้งเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาจักรี พระองค์มีโอกาสได้บวชเรียน และเมื่ออายุ21ปีจึง สึกออกมาแล้วรับราชการต่อ และได้รับการเลื่อนยศตำแหน่งด้วยความสามารถจนเป็นพระยาตากสิน ผู้ปกครองหัวหน้าฝ่ายเหนือ ในช่วงระยะเวลาต่อมาได้มีการร่วมรบเพื่อกอบกู้เอกราช ทั้งจากการปราบชุมนุมของศัตรู รวบรวมกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ นำไปสู่การรวบรวมอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียว จนสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ยุคนั้นฝ่ายราชสำนักจีนถือตนว่าเป็นประเทศแห่งมหาอำนาจตะวันออกหรือที่เข้าใจกันใน ฐานะพี่ใหญ่ ประเทศรอบด้านทั้งใกล้และไกลต้องเคารพต่ออำนาจจักรพรรดิราชสำนักจีน ด้วยเหตุผล ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของ “ จิ้มก้อง ” (进贡) ออกเสียงแบบสำเนียงจีนแต้จิ๋ว หมายถึง ถวายเครื่องราช บรรณาการต่อจักรพรรดิจีน ดังที่ปรากฏในบทนิราศกวางตุ้งตอนหนึ่งซึ่งประพันธ์โดยพระยามหานุภาพ
จึงพระบาททรงราชนิพนธ์สาร เปนตะพานนพคุณควรสงวน
ให้เขียนสารลงลานทองทวน จัดส่วนบรรณาการละลานตา
อนึ่งนอกจิ้มก้องเปนของถวาย ก็โปรยปรายประทานไปหนักหนา
ทั้งนายห้างขุนนางในนัครา ให้มีตราบัวแก้วสำคัญกัน
ราชสำนักจีนมักถือว่าเมืองที่มาจิ้มก้อง(进贡)นั้น เป็นผู้ที่สวามิภักดิ์ขอเป็นเมืองขึ้น นอกจากจีนจะให้ความสะดวกทางการค้าแล้วนั้น จักรพรรดิจีนยังตอบแทนด้วยการให้ของกำนัล กลับเมืองอีกมากมาย เวลาดังกล่าวเป็นยุคเรืองอำนาจของราชวงศ์ชิง(清朝) สืบทอดอำนาจโดย จักรพรรดิเฉียนหลง (乾隆皇帝)ครองบัลลังก์ยาวนานถึง 60 ปี ราชสำนักจีนมองว่าฝ่ายตนเป็น ประเทศมหาอำนาจ ประเทศรอบด้านต้องเคารพต่ออำนาจจักรพรรดิจีนซึ่งนโยบายที่กำหนดขึ้นโดย พระเจ้าเฉียนหลง (乾隆皇帝)ในขณะนั้นประเทศที่อยู่รายล้อมต้องมาทำการส่งเครื่องบรรณาการ หรือจิ้มก้อง (进贡) โดยทุกๆ 3 ปีมา 1 ครั้ง และใน 1 ครั้งกำหนดให้มีเรือได้แค่ 3 ลำเท่านั้นรวมทั้ง กำหนดชนิดประเภทของเครื่องบรรณาการด้วย จักรพรรดิยังทรงให้สิทธิพิเศษในการค้าขายบริเวณแถบ ท่าเรือมณฑลกวางตุ้งอีกด้วย ทั้งยังไม่เก็บภาษีเรือทั้ง 3 ลำ และสินค้าประเภทอับเฉา (压舱物)
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงขึ้นครองราชย์ สืบเนื่องจากพระองค์ไม่ได้ สืบเชื้อสายจากกษัตริย์ในสมัยอยุธยา การที่จะได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิจีนนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก พระองค์ได้ทรงพยายามที่จะขอตราโลโต (骆驼) หรือตราอูฐจากจีนที่เรียกแบบนั้นเพราะด้ามจับมี ลักษณะเป็นรูปอูฐซึ่งใช้ประทับบนราชสาสน์อักษรจีนเพื่อแสดงฐานะว่าเป็นเจ้าแผ่นดินสยาม (王) ภายใต้การอารักขาของฮ่องเต้ (皇帝)
พระเจ้าตากส่งเครื่องบรรณาการไปถวายถึง 5 ครั้งแต่ทุกครั้งที่ส่งไปไม่เป็นผล ทั้งยังถูก ปฏิเสธจากฝ่ายราชสำนักจีนทั้งสิ้น และในปีสุดท้ายพุทธศักราช 2324 พระเจ้าตากได้ส่งเรือถึง 11 ลำไป ยังจีน ซึ่งในเวลาดังกล่าวผู้ที่มีความสามารถในการประพันธ์บทนิราศอย่างพระยามหานุภาพก็ได้โปรดให้ติดตามไปด้วยในครานี้ด้วย และเป็นผู้บันทึกเรื่องราวแห่งการเดินทางจากกรุงธนบุรีสู่เมืองท่ากวางตุ้ง การเดินทางครั้งนี้ใช้เวลาถึง 33 วัน
ถ้านับวันก็ได้สามสิบสามวัน ถ้าสำคัญว่าเท่าไรในวิถี
ก็ได้สามร้อยโยชน์เศษสังเกตมี ถึงทวารพยัคฆีทันใด
กวางตุ้งถือได้ว่าเป็นเมืองท่าทางการค้าตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น เวลานั้นจักรพรรดิแห่ง ราชสำนักจีนกำหนดให้กวางตุ้งเป็นเมืองท่าที่สำคัญแค่แห่งเดียวของจีน ซึ่งในบริเวณเมืองท่ากวางตุ้ง ก็มีคนหลายเชื้อชาติที่มาทำการค้าขาย จีนไม่อนุญาตให้นานาอารยประเทศไปทำการค้าขายในเมืองท่าอื่น เพราะอาจจะทำให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ อาทิเรื่องของการเข้ามาเผยแพร่ศาสนา หรือ รุกราน และทำลายความมั่นคงของบ้านเมือง เมืองท่ากวางตุ้งมีขบวนเรือต่างๆ มากมายถือได้ว่าเป็นเมืองท่า การค้านานาชาติ
แต่เข้าคลองไปได้สองราตรี ก็ถึงที่หยุดพักนัครา
เห็นกำปั่นแลสำเภาเขาค้าขาย เปนทิวทอดตลอดท้ายคฤหา
ทั้งสี่แถวตามแนวนัครา ก็ทอดท่าน่าเมืองเปนเรื่องกัน
แต่เสากระโดงที่ระดะตะกะก่าย จนสุดสายเนตรแลแปรผัน
บ้างขึ้นล่องเที่ยวท่องจรจรัล สุดอนันต์ที่จะนับจะคณนา
จากหลักฐานในพงศาวดารคณะทูตและพระเจ้าตากทรงส่งเครื่องราชบรรณาการมาถึง ราชสำนักจีนด้วยเรือขนาดใหญ่ 11 ลำ โดยมีการบรรทุกงาช้าง เขาแรดและสินค้าอื่นที่เป็นของนอก บรรณาการ แต่จักรพรรดิจีนได้ทรงรับเอาเฉพาะงาช้างกับเขาแรดเท่านั้น ทั้งยังอนุญาตคณะทูตไทยทำ การค้าขายที่เมืองท่ากวางตุ้งได้และให้ยกเว้นการเก็บภาษี และพระราชทานของกำนัลตามธรรมเนียม รวมถึงเพิ่มของรางวัลพิเศษในการตอบแทนให้กับฝั่งกรุงธนบุรีอีกด้วย สรุปได้ว่าจากการเจริญไมตรีทางการทูตกับราชสำนักจีนในครั้งนี้นับว่า เป็นการเปิดศักราชใหม่กับกรุงธนบุรีที่สัมผัสได้ถึงความมั่นคง มั่งคั่งของบ้านเมืองและราชสำนักจีนก็เริ่มเปิดการค้ากับไทยอย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่าตอนแรกราชสำนักจีน เองจะไม่ยอมรับ ฝ่ายธนบุรีเพียงเพราะพระเจ้าตากเป็นสามัญชนคนธรรมดา แต่ท้ายที่สุดราชสำนักจีนก็ ยอมรับฝ่ายกรุงธนบุรีมากขึ้นตามลำดับสังเกตได้จากหลักฐานในพระราชสาส์น ราชสำนักจีนมีการออก พระนามให้องค์พระเจ้าตาก(郑昭吞武里王国)เจิ้งเจา พระเจ้าแผ่นดินสยาม และในยุคของพระองค์มี เรือสำเภาพ่อค้าชาวจีนเข้ามาติดต่อค้าขายอยู่เสมอ
ข้อมูลอ้างอิง
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน. (ม.ป.ป.). วัชรญาณ. https://vajirayana.org /นิราศพระยามหานุภาพ /นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน
บาราย. (2556, 17 มีนาคม) . เครื่องอับเฉา. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/news/politic/332760
ไลฟ์. (2566, 30 มกราคม). ประวัติพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี พร้อมผลงานสำคัญ. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2616298
วุฒิชัย มูลศิลป์. (2558) . ไม่ไปจิ้มก้อง: ไทยยุติความสัมพันธ์กับจีน สมัยรัชกาลที่ ๔ – รัชกาลที่ ๕. วารสารราชบัณฑิตยสภา, 40(3), 83-108. https://www.orst.go.th/FILEROOM/CABROYIN
WEB/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000037.FLP/html/94/
เสาวลักษณ์ กีชานนท์. (ม.ป.ป.). การค้าขายกับชาวต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี. สำนักวรรณกรรมและประวัติ ศาสตร์. https://www.finearts.go.th/ /literatureandhistory/view/23848-การค้ากับชาวต่างชาติในสมัยกรุงธนบุรี
Economic and Commercial Office of the Embassy of the People’s Republic of China in the Kingdom of Thailand. (2021, September 17). Zhong Tai yi jia qin yuan yuan liu chang [中泰一家亲源远流长]. Ministry of Commerce of the People’s Republic of China. http://th.mofcom.gov.cn/.../202109/20210903199857.shtml
Hundunlu. (2022, December 5). Tunwuli wangchao shiqi xianluo yu Zhongguo you shenme guanxi? [吞武里王朝时期暹罗与中国有什么关系?]. NETEASE. https://www.163.com/dy/article/HNS4IDG20543OST6.html