เฟิงฉุ่ย(风水)ลมและน้ำ หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อวัฒนธรรม “ฮวงจุ้ย” นั้นเป็นวัฒนธรรมลึกลับเก่าแก่ชนิดหนึ่งของวัฒนธรรมจีนโบราณ โดยวัฒนธรรมฮวงจุ้ยหรือศาสตร์แห่ง “ลมและน้ำ” นั้นผสมผสานศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งภูมิศาสตร์ โหราศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา สถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์ นิเวศวิทยา จิตวิทยา สังคมวิทยา และสาขาวิชาอื่น ๆ บูรณาการเข้าด้วยกันจนกลายเป็นทฤษฎีและมีแนวปฏิบัติที่พิเศษแตกต่างจากศาสตร์อื่น ๆ ทั้งนี้ได้นำเอาเรื่องของความเชื่อที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ทันตาเห็นกับศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้เข้าด้วยกัน ศาสตร์แห่ง “ลมและน้ำ” หรือศาสตร์แห่งฮวยจุ้ยนั้นมีวิธีการวางแผนสิ่งแวดล้อมและการออกแบบสถาปัตยกรรมในจีนโบราณตราบจนมาถึงสมัยปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อในศาสตร์แห่ง “ลมและน้ำ” นี้อยู่ โดยวัฒนธรรมฮวงจุ้ยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางไม่เพียงแต่ในประเทศจีนเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่ เช่น ประเทศไทยที่มีความเชื่อเรื่องของวัฒนธรรมฮวงจุ้ยเป็นอย่างมาก จนผสมกลมกลืนเข้ากับชีวิตประจำวันตั้งแต่การใช้ชีวิต การสวมเสื้อผ้า การตกแต่งบ้าน การทำงานหรือทำธุรกิจ วิวัฒนาการของวัฒนธรรมในฮวงจุ้ยปัจจุบันนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อเพียงเท่านั้น แต่กลายมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและการทำธุรกิจอีกด้วย อีกทั้งยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในการบูรณาการเข้ากับศาสตร์ทางวิศวกรรมโยธาและสถาปนิก โดยเฉพาะการตกแต่งบ้าน การดำเนินธุรกิจ และสาขาอื่น ๆ
1.ต้นกำเนิด
วัฒนธรรมฮวงจุ้ยมีต้นกำเนิดในจีนโบราณ และมีต้นกำเนิดย้อนกลับไปในสมัยก่อนฉิน ในช่วงเวลานั้น ฮวงจุ้ยถูกนำมาใช้เป็นหลักในการจัดวางและแผนผังของสุสานและสถานที่บูชายัญ ต่อมาในช่วงราชวงศ์ฮั่น ฮวงจุ้ยได้สร้างระบบทฤษฎีดั้งเดิมและการปฏิบัติประยุกต์ที่มุ่งเน้นการ “สร้างสรรค์” มากขึ้น และด้วยการเปลี่ยนแปลงของราชวงศ์ในประเทศจีน วัฒนธรรมฮวงจุ้ยก็ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป วัฒนธรรมฮวงจุ้ยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระบบทางทฤษฎีที่ซับซ้อน ลึกซึ้ง มีการบูรณาการผสมเข้ากับหลักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ จนขอบเขตการใช้งานได้ขยายไปสู่วงการต่าง ๆ มากมายทั้งการก่อสร้าง การจัดบ้าน การทำธุรกิจ และสาขาอื่น ๆ
2.หลักการ
แนวคิดหลักของวัฒนธรรมฮวงจุ้ยประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ อากาศ สถานที่ รูปร่าง พลังและน้ำ(气场形势水)โดย อากาศ(气)หมายถึงสนามพลังงานระหว่างสวรรค์และโลกซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดที่สำคัญที่สุดในฮวงจุ้ย สถานที่ (场)หมายถึงสนามแม่เหล็กและออร่าในสภาพแวดล้อมซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อทางกายภาพของผู้คน และสุขภาพจิต รูปร่าง(形)หมายถึง รูปร่างและการจัดวางของวัตถุและภูมิประเทศซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อโชคลาภและสุขภาพของผู้คน พลังหมาย (势) ถึงภูมิประเทศและสถานการณ์ซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อโชคลาภและอาชีพการงานของผู้คน น้ำ (水) หมายถึง แหล่งน้ำและแม่น้ำ ซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพและความมั่งคั่งของผู้คน
3.วิธีปฏิบัติ
วิธีปฏิบัติในวัฒนธรรมฮวงจุ้ย ได้แก่การสร้างความสมดุลของหยิน 阴 (เย็น,ดำ,ชั่ว) และหยาง 阳 (ร้อน,ขาว,ดี) ร่วมกับองค์ประกอบทั้งห้า (อากาศ สถานที่ รูปร่าง พลังและน้ำ) ดังนั้นวิธีปฏิบัติในวัฒนธรรมฮวงจุ้ยจำเป็นที่จะต้องมีการวางแนว การจับคู่สี และวิธีการอื่น ๆ ตามหลักวัฒนธรรมฮวงจุ้ยนั้นให้ความสำคัญกับความสมดุลของหยินและหยางเป็นอย่างมาก เพราะความสมดุลของหยินและหยางหมายถึงการรักษาสมดุลและการประสานงานของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุสภาวะที่กลมกลืนและมั่นคง ไม่เกิดการขัดแย้งกัน โดยที่องค์ประกอบทั้งห้านั้น (อากาศ สถานที่ รูปร่าง พลังและน้ำ) จำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกันเพื่อปรับสภาพแวดล้อมของหยินและหยางสมดุลกัน
4.อิทธิพลและการประยุกต์ใช้
วัฒนธรรมฮวงจุ้ยมีอิทธิพลและการประยุกต์อย่างกว้างขวางในประเทศจีนและแพร่หลายในต่างประเทศปัจจุบัน มีการใช้หลักแนวคิดฮวงจุ้ยกันอย่างแพร่หลายในการก่อสร้าง การจัดระเบียบบ้าน การทำธุรกิจ และสาขาอื่นๆ ในด้านสถาปัตยกรรม ฮวงจุ้ยใช้ในการวางผังเมือง การออกแบบสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์สวน ฯลฯ ในด้านบ้าน ฮวงจุ้ยใช้ในการตกแต่งภายใน แผนผังบ้าน ฯลฯ ในด้านธุรกิจ ฮวงจุ้ยคือ ใช้ในการเลือกที่ตั้งร้าน การวางแผนองค์กร ฯลฯ นอกจากนี้ วัฒนธรรมฮวงจุ้ยยังส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อศาสนา ปรัชญา ศิลปะ และสาขาอื่นๆ ของจีนอีกด้วย
ข้อมูลอ้างอิง
ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์. (2566). หยิน-หยาง. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. https://www.gj.mahidol.ac.th/main/tcm/yinyang/
Jay1893637. (2023, December 18). Brief introduction of Chinese feng shui culture [中国风水文化简介]. Baidu. https://baijiahao.baidu.com/s?id=1785618559158857948&wfr= spider &for=pc
Nanmu ai shuma[楠木爱数码]. (2023, May 26). The concept and history of traditional Chinese feng shui [中国传统风水的概念与历史] Baidu. https://baijiahao.baidu.com/ s?id=1766945638223984712&wfr=spider&for=pc
Talk about Chinese feng shui culture [浅谈中国的风水文化]. (2021, June 17). Yjbys. https://www.yjbys.com/biyelunwen/fanwen/wenhua/729874.html
Xuan yang guan [玄炀观]. (2023, September 23). Jiang Qun: Introduction to the historical development and basic schools of feng shui culture[姜群:风水文化的历史发展与基本流派介绍].Baidu. https://baijiahao.baidu.com/s?id=1777804196079021374&wfr =spider& for=pc