พระจันทร์ ในวัฒนธรรมจีนมีความหมายและสัญลักษณ์ที่ลึกซึ้งหลายประการ อย่างเช่นในบางความเชื่อเป็นสัญลักษณ์ของความยั่งยืนและความเป็นอมตะเพราะไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร พระจันทร์ก็ยังคงปรากฏบนท้องฟ้าเช่นเดิม และในบางความเชื่อพระจันทร์ถือเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่ยั่งยืน ในตำนานที่เกี่ยวกับเทศกาลหยวนเซียว (ง่วนเซียว) หรือเทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนมักจะสื่อถึงการรวมตัวกันของครอบครัว และความรักที่ยั่งยืนเหมือนจันทร์ที่ส่องสว่างในยามค่ำคืนอย่างไม่มีวันดับ
ในวัฒนธรรมจีน พระจันทร์ไม่เพียงแต่เป็นวัตถุทางธรรมชาติที่มองเห็นในท้องฟ้ายามค่ำคืน แต่ยังมีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ตลอดจนการแสดงออกของความปรารถนาในสิ่งที่มนุษย์ต้องการให้เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ความปรารถนาในการได้รวมตัวของคนในครอบครัว ความกลมเกลียว สุขภาพการมีชีวิตยืนยาว ในบรรดาความเชื่อเหล่านี้มีตำนานที่กล่าวถึงพระจันทร์อย่างชัดเจน ในงานเทศกาลหยวนเซียว (元宵节) หรือเทศกาลโคมไฟซึ่ง ตรงกับวันที่ 15 ค่ำ เดือน 1 ของปฏิทินจันทรคติ ถือเป็นวันสุดท้ายของการเฉลิมฉลองปีใหม่จีนที่ได้มี การบูชาพระจันทร์ ในตำนานได้กล่าวถึงนางฟ้าที่มีชื่อว่า หยวนเซียว ซึ่งเป็นสาวใช้ในวังสวรรค์ นางได้คิดถึงครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่ไม่สามารถลงมายังโลกมนุษย์เพื่อไปเยี่ยมครอบครัว วันหนึ่งได้มีเทพที่ชื่อว่าหลางจวิน ช่วยแนะนำให้เซียวหยวนขอพรจากเทพจักพรรดิหยก นางจึงได้ทำตามคำแนะนำและได้กลับลงมาเยี่ยมครอบครัวที่เมืองมนุษย์ เพื่อเป็นการฉลองที่หยวนเซียวได้กลับมาพบ ครอบครัว ชาวเมืองจึงได้ทำขนมทรงกลมไส้งาที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว เรียกว่า ทางหยวน เพื่อเป็นตัว แทนของการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งของครอบครัว
ในความหมายทางสัญลักษณ์รูปร่างของขนมทางหยวน ได้สื่อถึงความสมบูรณ์ ความรัก ความกลมเกลียวกันในครอบครัว ส่วนรสชาติหวานของขนมทางหยวนได้สื่อถึงชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุขที่หวานชื่น และสีขาวของแป้งข้าวเหนียวเป็นสัญลักษณ์ เปรียบเสมือนกับแสงจันทร์ที่บริสุทธิ์ สว่างไสว ดังนั้นการกินทางหยวนในวันเทศกาลหยวนเซียวจึงเป็น การอวยพรให้ครอบครัวมีความรัก และมีความกลมเกลียวกัน โดยเฉพาะคำว่าหยวน เป็นการสื่อถึงถวนหยวน (团圆) ซึ่งหมายถึง การรวมตัวกันอย่างพร้อมหน้าของครอบครัว ปัจจุบันในบางพื้นที่ยังคงมีการบูชาพระจันทร์โดยการจัด เครื่องเซ่นไหว้เพื่อขอพรให้ชีวิตมีความสุขและยืนยาว การบูชาพระจันทร์ในเทศกาลนี้สะท้อนถึง การเคารพในธรรมชาติและพระจันทร์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของการหมุนเวียนของจักรวาลและชีวิต
นอกจากนี้ยังมีเทศกาลไหว้พระจันทร์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 โดยเทศกาลนี้เกิดมาจากฮ่องเต้ ถังหมิงหวงได้ทรงพระสุบินว่า พระองค์ทรงได้เสด็จไปยังดวงจันทร์และได้เห็นนางฟ้าร่ายรำบนดวงจันทร์ ในความฝัน และพระองค์ทรงมีความสุขมากที่ได้ชมการร่ายรำของนางฟ้าบนดวงจันทร์ เมื่อตื่นจากฝัน จึงโปรดให้สนมแต่งตัวร่ายรำเลียนแบบนางฟ้าในฝันและจัดเครื่องเซ่นไหว้พระจันทร์
ในค่ำคืนของเทศกาลไหว้พระจันทร์ ครอบครัวจะมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ขอบคุณพระจันทร์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมทั้งรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ซึ่งมีรูปทรงกลมสะท้อนถึงความรักและความสมานฉันท์ พระจันทร์เต็มดวงยังเป็นตัวแทนของความคิดถึง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องอยู่ห่างไกลจากครอบครัว แม้ตัวจะไม่ได้อยู่ใกล้กัน แต่การมองพระจันทร์ดวงเดียวกันในค่ำคืนวันเทศกาลไหว้พระจันทร์จะทำให้รู้สึกเชื่อมโยงถึงกันเสมือนอยู่ใกล้กัน โดยเทศกาลไหว้พระจันทร์ยัง ตรงกับช่วงเวลาเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง
พระจันทร์ที่ส่องแสงสว่างเจิดจ้าในช่วงนี้จึงเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และความสำเร็จ เป็นการขอบคุณธรรมชาติที่มอบผลผลิตที่ดีให้แก่ชีวิต นอกจากตำนานหยวนเซียว ยังมีตำนานความเชื่อที่มีการเชื่อมโยงกับเทพเจ้าหรือเทพีที่มีอำนาจในการให้ชีวิตอมตะ เช่น เจ้าแม่ซีหวังหมู่ เทพหญิงที่มีชื่อ เสียงในด้านการให้ชีวิตอมตะและการปกป้องมนุษย์จากโรคภัยต่างๆ ตามตำนานในหนังสือ "ซานไห่จิง" (山海经) หรือ "หนังสือคัมภีร์แห่งขุนเขาและท้องทะเล" ซีหวังหมู่ได้บรรยายลักษณะของซีหวังหมู่ไว้ว่า เป็นเทพที่มีรูปร่างเป็นมนุษย์และมีหางเป็นเสือดาว ฟันแหลมคม และเสื้อผ้าที่หรูหราซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งและอำนาจเหนือธรรมชาติ ในบันทึกต่างๆ ซีหวังหมู่ไม่เพียงแต่เป็นเทพที่ ควบคุมโรคภัยและภัยพิบัติ แต่ยังถือเป็นเทพที่มีความสามารถในการมอบชีวิตอมตะแก่ผู้ที่ได้รับยาอมตะจากพระนาง
ตำนานที่โด่งดังและมีความเกี่ยวข้องกับยาอายุวัฒนะของเจ้าแม่ซีหวังหมู่ เช่น ตำนาน ฉางเอ๋อ โดยในเนื้อหาของตำนานได้กล่าวถึงฉางเอ๋อ ผู้เป็นภรรยาของโฮ่วอี้วีรบุรุษผู้ยิงดวงอาทิตย์เก้า ในสิบดวงให้ดับลงเพื่อช่วยโลก ด้วยความที่เกรงว่าหากผู้ที่กินยาอายุวัฒนะเข้าไปเป็นคนไม่ดี จะทำให้ บ้านเมืองล่มจม นางจึงได้กินยาอายุวัฒนะของเจ้าแม่ซีหวังหมู่เข้าไป ทำให้ร่างกายของนางได้ลอยขึ้นสู่ ท้องฟ้า สุดท้ายนางก็ได้ไปพำนักอยู่บนดวงจันทร์กลายเป็นเทพธิดาผู้มีชีวิตอมตะ
ในบางฉบับได้กล่าวว่าหลังจากที่ฉางเอ๋อได้ลอยขึ้นสู่ดวงจันทร์แล้วก็ได้ถูกเจ้าแม่ซีหวังหมู่พิโรธ ที่แอบกินยาอายุวัฒนะจึงได้ถูกสาปให้กลายเป็นคางคกสามขาทำหน้าที่ตำยาอายุวัฒนะร่วมกันกับ กระต่ายหยกอยู่บนดวงจันทร์ ในเชิงสัญลักษณ์ ยาอายุวัฒนะในตำนานฉางเอ๋อแสดงให้เห็นถึงความ ปรารถนา ของมนุษย์ที่อยากมีชีวิตที่ยืนยาวและพ้นจากวัฎจักรแห่งความตาย นอกจากนี้ยังสะท้อนให้ เห็นถึงความเสียสละ ความรักและความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ โดยตำนานดังกล่าวยังได้ส่งผลต่อ วัฒนธรรมจีนในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเทศกาลไหว้พระจันทร์ ผู้คนมักจะระลึกถึงฉางเอ๋อและเรื่องราวของนาง พร้อมรับประทานขนมไหว้พระจันทร์เพื่อเฉลิมฉลองความรัก ความสมบูรณ์และชีวิตที่ยั่งยืน
ในเชิงคติชน ความเชื่อเกี่ยวกับพระจันทร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวและจัดการกับชีวิตในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้อย่างสมดุล ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในโลกที่เด็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความเปลี่ยนแปลง
รายการอ้างอิง
李伟. (2019). 《月亮在中国文化中的象征意义》. 广州: 南方出版社.
刘若英. (2017). 《中国的节日与习俗》. 上海: 华东师范大学出版社.
王明月. (2015). 《中国传统文化与节日的起源与传说》. 北京: 中华书局.
吴昊. (2018). 《中国神话与文化传说》. 南京: 江苏人民出版社.
徐敏. (2021). 《中国民间传说与神话》. 北京: 文化出版社.