ความทันสมัยแบบจีนนั้นมีอย่างหลากหลาย ทั้งทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม รวมไปถึงประวัติศาสตร์และนวัตกรรมโบราณแบบจีน ทั้งการผลิตกระดาษ เข็มทิศ การพิมพ์และดินปืน สำหรับในมิติของความคิด (Chinese-style Ideological Modernization) ก็มีความทันสมัยและเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยเช่นกัน
“ความทันสมัยแบบจีน” (中国式现代化) ไม่ได้หมายถึงการลอกเลียนแบบความทันสมัยแบบตะวันตก แต่คือกระบวนการสร้างความทันสมัยภายใต้ระบบสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีน เช่น ความเป็นปึกแผ่นของรัฐ ความมั่นคงทางการเมือง และการนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีสีจิ้นผิงเป็นผู้กำหนดทิศทางผ่าน “แนวคิดสีจิ้นผิงว่าด้วยสังคมนิยมแบบจีนสำหรับยุคใหม่” (习近平新时代中国特色社会主义思想)
ความทันสมัยทางความคิดแบบจีนนั้นเป็นการผสานอุดมการณ์ดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่
ในยุคของสีจิ้นผิง โดยที่จีนได้พัฒนา “ความทันสมัยทางความคิด” ผ่านกลไกใหม่ที่ผสมผสานระหว่างอุดมการณ์พรรคกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะการใช้ แอปพลิเคชัน “学习强国” (Xuexi Qiangguo) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่รัฐพัฒนาขึ้นเพื่อให้ประชาชนเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล แนวคิดของ สีจิ้นผิง ซึ่งเป็นการล้อคำจากคำว่า 学习คือ 学习近平เรียนรู้จากแนวคิดของสีจิ้นผิงนั่นเองและเสริมสร้างเอกภาพทางความคิด โดยจุดเด่นของแอป “学习强国” มีบทความ วิดีโอ สื่อมัลติมีเดียเกี่ยวกับนโยบายของรัฐและแนวคิดของสีจิ้นผิง นอกจากนี้ยังมีมีระบบ “แต้ม” เพื่อจูงใจให้ประชาชนเข้าใช้งานเป็นประจำ ปัจจุบัน ถูกใช้โดยทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ นักเรียน และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการ
ความทันสมัยทางความคิดนั้น ถือได้ว่าเป็นอุดมการณ์แบบดิจิทัล (Digital Ideological Governance) กล่าวคือ การสร้าง “ความทันสมัยทางความคิด” ของจีนในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าการควบคุมทางความคิดไม่ได้เกิดจากการบังคับด้วยกำลัง แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบพรรค ผ่านช่องทางดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ เช่น การประเมินผลข้าราชการ บางตำแหน่ง อิงกับกิจกรรมในแอป “学习强国” การปลูกฝังอุดมการณ์ในชีวิตประจำวัน ผ่านการเรียนรู้ด้วยเกม ควิซ และสื่อโซเชียลภายในแอป ในภาพรวมอาจจะถูกมองว่าเป็นความทันสมัยที่ดี สร้างความตระหนักรู้และการเรียนรู้ที่ทันสมัยสำหรับทุกคน ทว่า แม้ว่าระบบนี้จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับหนึ่ง แต่ก็มีข้อวิจารณ์ว่าเป็นการควบคุมความคิด (Thought Management) ภายใต้รูปแบบที่เรียกว่า “Soft Surveillance” ขาดพื้นที่ให้กับการแสดงความเห็นที่แตกต่างจากแนวคิดพรรค เป็นการ “ผูกขาดการตีความอนาคตของความทันสมัย” ไว้กับพรรคคอมมิวนิสต์
ดังนั้น “ความทันสมัยทางความคิด” แบบจีนจึงไม่ใช่แค่การเปลี่ยนผ่านของรูปแบบความคิดไปสู่สมัยใหม่เท่านั้น แต่เป็นการสร้างระบบความคิดใหม่โดยใช้เทคโนโลยีในการฝังอุดมการณ์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างเป็นระบบ และเป็นการแสดงให้เห็นถึง "Chinese-style modernization" ที่ผสานอุดมการณ์กับนวัตกรรมทางดิจิทัล" อย่างกลมกลืน
รายการอ้างอิง
Chinese Communist Party. (n.d.). Xuexi Qiangguo [Learning to strengthen the country]. https://www.xuexi.cn/xxqg.html...
Chinese Communist Party Organization Department. (n.d.). Xuexi guanche Xi Jinping xin shidai Zhongguo tese shehui zhuyi sixiang zhuanti [Special study on Xi Jinping thought on Socialism with Chinese characteristics for a New Era]. https://www.12371.cn/special/xxzd/
Creemers, R., Papagianneas, S. & Knight, A. (2023). The emergence of Xi-era ideology: From Marxist discipline to digital propaganda. Lanham, MD: Rowman & Littlefield. https://rowman.com/.../OA_Creemers_Emergence...
Holbig, H. (2018). China after reform: The ideological, constitutional, and organizational makings of a New Era. Journal of Current Chinese Affairs, 47(3), 25–54. https://doi.org/10.1177/18681026180470030
Qiang, X. (n.d.). Chinese digital authoritarianism and its global impact. Elliott School of International Affairs. https://pomeps.org/chinese-digital-authoritarianism-and...